วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ขนมผูกรัก ต้นตำรับเจ๊ะบิลัง Simpul kasih


ขนมผูกรัก ต้นตำรับเจ๊ะบิลัง
Simpul kasih



1. ประวัติความเป็นมา

สมัยก่อน เขาจะทำไส้ปลากินกับข้าวเหนียว อย่างเดียว แต่ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะข้าวเหนียวจะบูด จึงได้มีการแปรรูป นำไส้ มาทำเป็นขนม โดยห่อกับแผ่นเปาะเปี๊ยะ รับประทานยามว่าง อีกอย่างไส้ปลา ถ้าใส่ตู้เย็นแล้ว สามารถเก็บได้นานถึง 3-4 เดือน ซึ่งชาวบ้านนิยมทำกัน ช่วงฤดูปลาทูเยอะๆ เพราะ สามารถ กินได้นาน และยังสร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย ซึ่งเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในชุมชน. ต่อมาขนมผูกรักเป็นขนมที่เริ่มมีชื่อเสียงของตำบลเจ๊ะบิลัง จึงทำให้มีแรงบันดาลใจว่าน่าจะส่งเสริมให้สมาชิกสตรีในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง ได้เรียนรู้วิธีการการทำขนมผูกรักอย่างจริงจัง ด้วยตนเองเป็นคนที่มีพื้นฐานในการทำขนมพื้นบ้านได้เกือบทุกชนิด จึงได้รวมกลุ่มกันทำขนมผูกรักเพื่อเป็นสินค้าโอท็อปของพื้นที่ตำบลเจ๊ะบิลัง


2. วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมรายได้ให้สตรีในชุมชน นางชไมพร หมันสง่า ประธานกลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีเจ๊ะบิลัง(บ้านขนมผูกรัก) กล่าวว่า กลุ่มนี้ได้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 57 ตลอดเวลาได้ทำการปรับปรุงสูตรมาตลอดเพื่อให้ถูกปากลูกค้าและพัฒนาให้เก็บไว้ได้นานจนถึงตอนนี้ขนมผูกรักสามารถเก็บได้นานถึง 1 เดือนด้วยการผัดไส้ให้แห้งมากที่สุด และเทคนิคการใช้ไฟแรงทำให้ขนมกรอบและไม่เหม็นหืนและเน้นความสะอาด แต่ส่วนใหญ่แล้วขนมดังกล่าวจะเก็บได้ไม่นานเพราะความอร่อย กินเพลินทำให้ขนมแต่ละถุงหมดเร็วโดยไม่รู้ตัว จุดเด่นของขนมผูกรักนอกจากความกรอบอร่อยชื่อขนมที่ฟังง่ายติดตลาดและเป็นมงคลแล้ว ยังอยู่ที่ไส้ ซึ่งกลุ่มจะใช้ปลาทูแขกที่พ่อบ้านหามาได้มาทำเป็นไส้รสชาดหวานมันเผ็ดเล็กน้อยวัตถุดิบจะใช้ของสดจริงๆขึ้นมาจากทะเลก็นำมาต้มและผัดไส้ทันที นอกจากนี้ยังมีไส้กุ้งและไส้ถั่วเหลืองซึ่งเป็นไส้หวานสำหรับคนที่ไม่กินอาหารทะเล เราก็มีทางเลือกให้แต่ที่นิยมส่วนใหญ่คือไส้ปลา ราคาที่ขายขายส่งก.ก.ละ200 บาท หากใส่เป็นกล่องจะอยู่ที่กล่อง 35 บาท หรือ3 กล่อง100 หากซื้อเป็นของฝากก็จะนิยมซื้อแบบถุงละ 50 บาท ขณะนี้ขนมผูกรักได้คัดสรรเป็นสินค้าโอท็อประดับ 4 ดาว และเป็นขนมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของ จ.สตูลไปแล้วเนื่องจากทุกเทศกาลขนมชนิดนี้จะได้รับความนิยมมาก อย่างเช่นเทศกาลฮารีรายาที่จะมาถึงในปลายเดือนนี้ก็มีการสั่งมากมากจนกลุ่มต้องปิดรับออเดอร์เพราะเกรงว่าทำให้ไม่ทัน เนื่องจากเราต้องใช้คนทำและสามารถผลิตได้สูงสุดวันละ 60-70 ก.ก.เท่านั้นซึ่งหมายถึงว่าต้องทำตั้งแต่เช้าไปจนถึงตี3 ของแต่ละวัน เท่ากับว่าเฉพาะเดือนมิ.ย.60นี้เรามีรายได้วันละ 14,000 บาท หากเป็นวันธรรมดากลุ่มจะทำวันละ 30 ก.ก.ทำแค่ตอนเที่ยงก็เสร็จ เฉลี่ยรายได้เดือนละ180,000-200,000 บาท ซึ่งถือเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชนบ่อหลวงแห่งนี้ด้วย ซึ่งนอกจากคนในกลุ่มที่มีสมาชิก 15 คนช่วยกันทำแล้วยังสร้างอาชีพให้กับแม่บ้าน นักเรียนนักศึกษาที่รับของเอาไปทำที่บ้านโดยจะให้ค่าทำ 9 กรัม 30 บาท แต่ละคนจะมีรายได้วันละหลายร้อยบาทหากผูกขนมได้เร็ว นางชไมพร ยังบอกด้วยว่าไม่เฉพาะเทศกาลฮารีรายาเท่านั้นแต่ทุกเทศกาลไม่ว่าปีใหม่ สงกรานต์ เทศกาลต่างๆ แม้นแต่งานแต่งก็จะใช้ขนมชนิดนี้ใส่ในขันหมากเนื่องจากชื่อที่เป็นมงคล ซึ่งตลาดนอกจากลูกค้าภายในจังหวัดแล้วยังมีลูกค้าต่างจังหวัดทั่วประเทศและลูกค้าจากประเทศมาเลเซียก็มีการสั่งซื้อ ซึ่งนอกจากขนมผูกรักแล้วยังทำปอเปี๊ยะจิ๋วซึ่งใช้แป้งและไส้เดียวกัน สิ่งที่กังวลในตอนนี้คือแป้งห่อซึ่งเป็นแป้งปอเปี๊ยะที่สั่งมาจากมาเลเซีย และในช่วงเทศกาลแป้งมักจะขาดตลาด ซึ่งตนเคยนำแป้งปอเปี๊ยะของไทยมาทำแล้วแต่ไม่ยืดหยุ่น มันหนาและขาดหักไม่สามารถพับหรือผูกเป็นขนมผูกรักได้ จึงอยากให้มีการพัฒนาแป้งปอเปี๊ยะที่มีความยืดหยุ่นสามารถผูกเป็นขนมได้



3. ส่วนประกอบการทำไส้ขนม

1. ปลาทูสด 2 กิโลกรัม
2. พริกแห้งใหญ่ 1 กรัม
3. หอมแดง 5 หัว
4. กระเทียม 1 หัว
5. ตะไคร้ 15 ต้น
6. น้ำกะทิ 2 ถ้วยตวง
7. เกลือ 1 ช้อนชา
8. น้ำตาล 8 กรัม
9. ขมิ้น 12 หัว
10. ยี่หร่าหวาน 1 ช้อนโต๊ะ
11. ส้มแขก
12. แผ่นปอเปี๊ยะ
13. น้ำมัน


4. กระบวนการทำขนมผูกรัก

ขั้นตอนในการทำ

1. นำปลาทูสดมาตัดหัว ล้างให้สะอาดแล้วนำไปต้ม
2. นำปลามาแยกก้างออก ให้เหลือแต่เนื้อปลาอย่างเดียว
3. นำเนื้อปลา มาตำให้ละเอียด
4. นำน้ำกะทิ , พริกแห้งใหญ่ , หอมแดง , กระเทียม , ตะไคร้ซอย , ยี่หร่าหวาน และขมิ้น มาบด เข้าด้วยกัน
5. นำส่วนผสมที่บดมาผสมกับเนื้อปลาทู ใส่เกลือและน้ำตาล กวนให้เข้ากัน
6. ตั้งกระทะ ไฟปานกลาง ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในกระทะ แล้วกวนจนส่วนผสม แห้ง ละเอียด เป็นอันเสร็จสิ้น
7. นำแผ่นปอเปี๊ยะมาตัดเป็นชิ้น สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยแผ่นปอเปี๊ยะ 1 อันสามารถตัดได้ 8 ชิ้น
8. นำไส้ปลามาใส่ในแผ่นปอเปี๊ยะ แล้วผูกให้สวยงาม
9. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันให้ร้อน แล้วนำขนมที่ทำไปทอด จนสุกเหลือง แล้วยกขึ้นสะเด็ด น้ำมัน แล้วใส่ภาชนะให้เรียบร้อย
      
         

ลักษณะและเสน่ห์ขนมผูกรัก

การห่อแป้งโดยการผูกให้เป็นโบว์ นั่นก็คือ “ขนมผูกรัก” ขนมกินเล่นกรุบกรอบไส้ปลา ที่มีรสชาติคล้ายขนมปั้นขลิบไส้ปลาที่เรารู้จักกันดี แต่จะมีความพิเศษที่เป็นความสะดุดตาแรกเห็นก็คือ “ลักษณะการห่อ” ที่จะผูกแผ่นแป้งให้เป็น “รูปโบว์” ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญและความตั้งใจในการผูก เสมือนใช้ความรักในการค่อยๆ ผูก เพราะไม่เช่นนั้นแผ่นเป็นอาจจะขาดหรือผูกไม่แน่นทำให้เมื่อทอดออกมาแล้วได้รูปทรงที่ไม่สวยได้ “ขนมผูกรัก” จึงเป็นของฝากที่นิยมซื้อไปฝากคนพิเศษมากๆ เพราะเป็นเหมือนตัวแทนความรักจากผู้ให้ถึงผู้รับนั่นเอง อีกทั้งยังเป็นขนมมงคลที่ให้กันในเทศการต่างๆ เช่น เทศกาลวันฮารีรายอ , วันแห่งความรัก , และโอกาสพิเศษต่างๆ


















อ้างอิง


               
                https://www.tnews.co.th/contents/329644





















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น